Highlight Activities 2021: Genetic controls of root architectural traits in KDML105 chromosome segment substitution lines under well-watered and drought stress conditions

สรุปโดยสังเขปว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับ : ความแห้งแล้งเป็นปัจจัยจำกัดหลักในการปลูกข้าวในนาน้ำฝนและลักษณะโครงสร้างรากมีความสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความทนแล้ง ในการศึกษานี้คณะผู้วิจัยได้ใช้ Chromosome segment substitution lines ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 (KDML105-CSSLs) ในการศึกษาการควบคุมทางพันธุกรรมและการตอบสนองทางสรีระวิทยาของรากข้าวในสภาวะแล้งโดยปลูกในพื้นที่ทางภาคกลางจังหวัดนครปฐม และ พื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานี ในพื้นที่ภาคกลางนั้นมีลักษณะเป็นดินเหนียวในขณะที่พื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานีมีลักษณะเป็นดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จากการศึกษาพบว่ากลุ่มประชากรข้าวที่ศึกษามีลักษณะโครงสร้างรากที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันในด้านการตอบสนองต่อสภาวะแล้งระหว่างสองพื้นที่ ข้าวในที่พื้นที่ภาคกลางมีการตอบสนองต่อสภาวะแล้งโดยการเพิ่มความหนาแน่นของรากแขนงขึ้น 77% ในขณะที่ลักษณะดังกล่าวลดลง

Read more

Highlight Activities 2021: Cadmium (Cd) and Zinc (Zn) accumulation by Thai rice varieties and health risk assessment in a Cd-Zn co-contaminated paddy field

สรุปโดยสังเขปว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับ : การทำเหมืองสังกะสีในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ส่งผลต่อ การปนเปื้อนแคดเมียม และ สังกะสีในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตร ข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ซึ่งสะสมปริมาณแคดเมียมเกินค่ามาตรฐานการบริโภคที่กำหนดโดย CODEX ในระดับ ๐.๒ มิลลิกรัม/กิโลกรัม และประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากการได้รับพิษแคดเมียม ทำให้เกิดโรคทางกระดูกและโรคไตเรื้อรัง ในงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้ศึกษาหาวิธีในการลดการเคลื่อนที่ของแคดเมียมและสังกะสี โดยเลือกใช้สารปรับปรุงดิน

Read more

Highlight Activities 2021: Root hair phenotypes influence nitrogen acquisition in maize

สรุปโดยสังเขปว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับ : เนื่องจากองค์ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของขนรากต่อประสิทธิภาพการดูดซับไนโตรเจนยังมีอยู่น้อยมาก คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหน้าที่ของขนรากโดยการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ด้วยโมเดลชื่อ SimRoot และทดสอบข้าวโพดที่มีความแตกต่างในความยาวของขนรากในระบบโรงเรือนและในแปลงเพาะปลูก ผลจากการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นว่าขนรากที่ยาวและหนาแน่นสามารถเพิ่มการดูดซับไนโตรเจนได้ การทดลองในโรงเรือนเพาะปลูก แสดงให้เห็นว่าแอมโมเนียมไม่มีผลต่อความยาวขนรากแต่ภาวะไนเตรทต่ำเพิ่มความยาวขนราก ในขณะที่กี่ทดลองในแปลงปลูกพบว่าภาวะไนโตรเจนต่ำลดความยาวของขนราก การมีขนรากยาวมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มชีวมวล ๒๑๖% และการสะสมไนโตรเจน ๒๓๗%  ในสภาวะไนโตรเจนต่ำในโรงเรือนเพาะปลูก เพิ่มชีวมวล ๒๕๐%  และการสะสมไนโตรเจน ๒๐๐% 

Read more

Highlight Activities 2021: Proteomics and immunocharacterization of Asian mountain pit viper (Ovophis monticola) venom

งูหางแฮ่มภูเขาจัดเป็นงูมีพิษในกลุ่ม pit viper พบกระจายอยู่ตามแถบภูเขาสูงในเขตภาคเหนือของประเทศไทย องค์ความรู้เรื่องของพิษของงูชนิดนี้มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูชนิดนี้กัด ผลศึกษาด้วย mass spectrometry-based proteomics ในงานวิจัยนี้ พบว่าในมีพิษงูหางแฮ่มภูเขามีโปรตีนมากถึง 247 ชนิดเป็นองค์ประกอบ โดยโปรตีนกลุ่ม venom metalloproteases (SVMP) มีปริมาณสูงสุดคือ 36.8%

Read more

Highlight Activities 2021: ความหลากหลายประชากรฉลามนางฟ้าแอฟริกาชนิดใหม่ (Squatina cf. africana Regan, 1908) ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดีย

ความหลากหลายประชากรฉลามนางฟ้าแอฟริกาชนิดใหม่ (Squatina cf. africana Regan, 1908) ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดีย เรือประมงไทยที่มีใบอนุญาตจับสัตว์น้ำในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดียได้เก็บตัวอย่างของประชากรฉลามนางฟ้าแอฟริกาได้จำนวน 14 ตัว การระบุชนิดในเบื้องต้นพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับฉลามนางฟ้าแอฟริกา Squatina africana Regan, 1908 ซึ่งมักจะพบบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และแตกต่างจากฉลามนางฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่พบในมหาสมุทรอินเดียและเขต Indo-West

Read more