Highlight Activities 2021: Proteomics and immunocharacterization of Asian mountain pit viper (Ovophis monticola) venom

งูหางแฮ่มภูเขาจัดเป็นงูมีพิษในกลุ่ม pit viper พบกระจายอยู่ตามแถบภูเขาสูงในเขตภาคเหนือของประเทศไทย องค์ความรู้เรื่องของพิษของงูชนิดนี้มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูชนิดนี้กัด ผลศึกษาด้วย mass spectrometry-based proteomics ในงานวิจัยนี้ พบว่าในมีพิษงูหางแฮ่มภูเขามีโปรตีนมากถึง 247 ชนิดเป็นองค์ประกอบ โดยโปรตีนกลุ่ม venom metalloproteases (SVMP) มีปริมาณสูงสุดคือ 36.8% ตามด้วย snake venom serine proteases (SVSP) 31.1% และ phospholipases A2 (PLA2) 12.1% โปรตีนในกลุ่มที่มีปริมาณรองลงมาได้แก่ L-amino acid oxidase(LAAO) (5.7%), venom nerve growth factor (3.6%), nucleic acid degrading enzymes(3.2%), C-type lectins (CTL) (1.6%), cysteine-rich secretory proteins (CRISP) (1.2%) และ disintegrin (1.2%) การวัดระดับการจับอย่างจำเพาะระหว่างพิษงูชนิดนี้กับเซรั่มต้านพิษงูด้วยวิธี indirect ELISA พบว่ามีค่าเป็น 1:1.28×107 กับเซรั่มพิษงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง และมีค่า 1:5.12×107 กับซีรั่มรวมต้านพิษงูที่มีผลต่อระบบโลหิต ทั้งนี้เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วย two-dimensional (2D) immunoblotting พบว่ามีโปรตีน 173 ชนิดสามารถจับได้กับเซรุ่มต้านพิษงู ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ ได้แก่ SVMP, SVSP อย่างไรก็ดี ยังมีโปรตีนอีกมากกว่า 72 ชนิดที่ไม่สามารถทำปฏิกิริยาได้กับเซรั่ม ได้แก่ CTLs และ CRISP ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้เซรั่มในการรักษาผู้ถูกงูหางแฮ่มภูเขากัด งานวิจัยนี้จะช่วยนำไปสู่การออกแบบการผลิตเซรุ่มต้านพิษงูเขียวหางไหม้ให้ครอบคลุมกับโปรตีนในพิษงูที่หลากหลายขึ้น

เอกสารอ้างอิง: Sitprija S, Chanhome L, Reamtong O, Thiangtrongjit T, Vasaruchapong T, Khow O, Noiphrom J, Laoungbua P, Tubtimyoy A, Chaiyabutr N, Kumkate S. Proteomics and immunocharacterization of Asian mountain pit viper (Ovophis monticola) venom. PLoS One. 2021 Dec 1;16(12):e0260496. doi: 10.1371/journal.pone.0260496. PMID: 34851989; PMCID: PMC8635378.