งานวิจัย

Highlight Activities 2021:RELATED SDGs : 2งานวิจัย

Highlight Activities 2021: Draft Genome Sequence of Neobacillus cucumis Strain T4S4, a Stevioside and Rebaudioside A Hydrolytic Strain Isolated from Tropical Forest Soil

ประเทศไทยมีสภาพภูมิประเทศแบบร้อนชื้น จึงเป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ที่สำคัญ งานวิจัยนี้ได้คัดแยกเชื้อแบคทีเรียจากดินที่เก็บจากป่าในจังหวัดน่าน ที่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ย่อย stevioside และ rebaudioside A ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบในหญ้าหวาน (stevia rebaudiana) จากเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดที่แยกได้จำนวน 108 ไอโซเลท พบว่า 4 ไอโซเลทมีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ดังกล่าว หลังจากนั้นได้คัดเลือกไอโซเลท T4S4 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการสร้างเอนไซม์ได้สูงสุดไปศึกษาลำดับเบสของจีโนมเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเอนไซม์และคุณสมบัติอื่น

Read More
Highlight Activities 2021:RELATED SDGs : 9งานวิจัย

Highlight Activities 2021: Bioleaching of Gold from Silicate Ore by Macrococcus caseolyticus and Acinetobacter calcoaceticus: Effect of Medium, Amino Acids and Growth Supernatant

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดทองคำโดยใช้แบคทีเรีย (bioleaching) ที่แยกได้จากแร่ซิลิเกต ได้แก่  Macrococcus caseolyticus, Acinetobacter calcoaceticus, และ Bacillus sp. MBEA40 อย่างไรก็ตาม มีเพียง M. caseolyticus and A. calcoaceticus เท่านั้นที่สามารถทำให้เกิดกระบวนการ

Read More
Highlight Activities 2021:RELATED SDGs : 2งานวิจัย

Highlight Activities 2021:Rapid and simultaneous detection of Campylobacter spp. and Salmonella spp. in chicken samples by duplex loop-mediated isothermal amplification coupled with a lateral flow biosensor assay

การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ก่อให้เกิดโรคจากอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปนเปื้อนของเชื้อ Campylobacter spp. และ Salmonella spp. เป็นสาเหตุสำคัญของโรคลำไส้อักเสบในมนุษย์ และอาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  เชื้อก่อโรคทั้งสองชนิดนี้พบปนเปื้อนได้บ่อยในสัตว์ปีก โดยเฉพาะเนื้อไก่ การบริโภคเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนเชื้อที่ปรุงไม่สุก เป็นการแพร่กระจายของเชื้อเหล่านี้จากสัตว์ปีกสู่มนุษย์ เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากอาหาร การทดสอบทางจุลชีววิทยาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพของการผลิตอาหารเพื่อการบริโภค วิธีมาตรฐานในการตรวจหาเชื้อปนเปื้อนในอาหารคือการเพาะเชื้อร่วมกับการทดสอบทางชีวเคมี

Read More
Highlight Activities 2021:RELATED SDGs : 3งานวิจัย

Highlight Activities 2021: Temporal Variations in Patterns of Clostridioides difficile Strain Diversity and Antibiotic Resistance in Thailand

การติดเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียดื้อยา จัดเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะการติดเชื้อ Clostridioides difficile ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงและโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ อุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคจากการติดเชื้อ C. difficile เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการอุบัติขึ้นของเชื้อ C. difficile ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ  นอกเหนือจากการดื้อยาปฏิชีวนะแล้วความรุนแรงของการติดเชื้อ ยังมีความสัมพันธ์กับการผลิตสารพิษของเชื้ออีกด้วย ในประเทศไทยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแบคทีเรียชนิดนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง ดังนั้นในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบเชื้อ

Read More