งานวิจัย

Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 7งานวิจัย

Highlight Activities: แบคทีเรียทนร้อนที่มีความสามารถในการย่อยชีวมวล

ป่าในประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเรื่องความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่ พืชสัตว์ และ จุลชีพ งานวิจัยชิ้นนี้ผู้ทำการวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการคัดแยกแบคทีเรียทนร้อนThermoanaerobacterium sp. R63 จากดินในป่าในจังหวัดน่าน ประเทศไทย ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวสามารถโตได้ดีที่อุณหภูมิสูงถึง 65 องศาเซลเซียส โดยมีความสามารถในการย่อยชีวมวลได้หลายชนิด อาทิเช่น เซลลูโลสและไซแลน ซึ่งแบคทีเรียสายพันธุ์นี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนชีวมวลทางการเกษตรให้เป็นพลังงานทางชีวภาพในระดับอุตสาหกรรม ทั้งนี้งานวิจัยนี้มีผลการดำเนินการที่สอดคล้องกับเกณฑ์การพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรเพื่อสังคมของสหประชาชาติ(SDGs) ในหัวข้อที่ 7

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities: ระเบียนรายชื่อหอยทากบกจากตอนใต้ของประเทศกัมพูชา

ระเบียนรายชื่อหอยทากบกจากตอนใต้ของประเทศกัมพูชา การศึกษานี้และบันทึกเกี่ยวกับหอยทากบกในกัมพูชายังมีในปริมาณน้อย ถึงแม้ว่ากัมพูชาจะเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาความหลากหลายของหอยทากบกจากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้จากพื้นที่เขาหินปูนทางตอนใต้ของกัมพูชา จากการศึกษาพบหอยทากบกทั้งสิ้น 36 ชนิด แบ่งเป็นหอยทากบกในกลุ่ม Neritimorpha จำนวน 2 ชนิด กลุ่ม Caenogastropoda จำนวน 6 ชนิด และ กลุ่ม Heterobranchia

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities: ระเบียนรายชื่อหอยน้ำจืดจากทะเลสาบเขมรประเทศกัมพูชา

ระเบียนรายชื่อหอยน้ำจืดจากทะเลสาบเขมรประเทศกัมพูชา ทะเลสาบเขมร (หรือ โตนเลสาบ) ในประเทศกัมพูชาเป็นแหล่งน้ำจืดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญรองรับการประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก หอยน้ำจืดเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เป็นเป้าหมายในการทำประมง แต่อย่างไรก็ตามหอยน้ำจืดของลุ่มน้ำโตนเลสาบยังไม่ได้รับการสำรวจและจดบันทึกอย่างเป็นระบบ ในการศึกษาครั้งนี้ ทำการสำรวจหอยน้ำจืดในโตนเลสาบและแหล่งน้ำโดยรอบ พบหอยน้ำจืดทั้งหมด 31 ชนิด ประกอบไปด้วย หอยสองฝาจำนวน 15 ชนิด จาก 5 วงศ์ และ

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities: ปลิงควายชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

ปลิงควายชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย ปลิงควายในสกุล Hirudinaria เป็นปรสิตภายนอกดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ชนิดอื่น ในประเทศไทย Hirudinaria manillensis เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป ปลิงชนิดนี้มีรายงานด้วยกันสองรูปแบบสัณฐาน คือรูปแบบสัณฐานท้องสีเขียวเข้มและรูปแบบสัณฐานท้องสีแดง จากการศึกษาสัณฐานวิทยาโดยละเอียดของอวัยวะสืบพันธุ์และหลักฐานทาง DNA พบว่า รูปแบบสัณฐานท้องสีเขียวมีเความแตกต่างจากปลิงควายชนิด Hirudinaria manillensis และเป็นชนิดใหม่ที่ไม่มีการรายงานมาก่อน จึงได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hirudinaria thailandica

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities : กิ้งกือถ้ำชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

กิ้งกือถ้ำชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย ระบบนิเวศเขาหินปูนที่มีความสลับซับซ้อนมีระบบนิเวศถ้ำเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ แต่ยังได้รับการศึกษาน้อยมาก โดยเฉพาะการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ในถ้ำ การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาความหลากลายของกิ้งกือถ้ำ ซึ่งเป็นสัตว์ที่สำคัญทำหน้าที่ย่อยสลายซากต่าง ๆ ที่อยู่ในถ้ำ กิ้งกือกลุ่มนี้ได้ปรับตัวให้เหมาะสมกับการอยู่ในถ้ำ ในประเทศไทยพบด้วยกัน 3 สกุล ได้แก่ Trachyjulus Glyphiulus และ Plusioglyphiulus จากการเก็บรวบรวมตัวอย่างจากทั่วประเทศ พบว่ากิ้งกือถ้ำจากวัดถ้ำขรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities : ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของหอยนักล่าวงศ์ Streptaxidae ในประเทศไทยและประเทศข้างเคียง

ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของหอยนักล่าวงศ์ Streptaxidae ในประเทศไทยและประเทศข้างเคียง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีหอยทากหอยนักล่าวงศ์ Streptaxidae ทั้งหมดหกสกุล โดยใช้การจัดจำแนกจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเปลือกหอยเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการโดยใช้หลักฐานทาง DNA มาก่อน ในการศึกษานี้ใช้ตัวอย่างหอยทากจำนวน 89 ตัวอย่าง จากประเทศไทย มาเลเซียและลาว ซึ่งเป็นตัวแทนของหอย 36 ชนิดในหกสกุล ศึกษาโดยใช้ยีนดีเอ็นเอไมโตคอนเดรีย COI

Read More
งานวิจัยอาจารย์

อ.ดร.พรินท์พิดา สนธิพันธ์ ได้รับทุนวิจัยจากมูลนิธิโทเรฯ

อาจารย์ ดร.พรินท์พิดา สนธิพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทยในการศึกษาจุลินทรีย์ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนรูปสารหนูในน้ำใต้ดินที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการเกษตร เพื่อเป็นแนวทางในการบำบัดมลพิษด้วยวิธีทางชีวภาพ ที่มา: มหิดลสาร เดือนพฤศจิกายน 2562

Read More
งานวิจัยนักศึกษา

การนำเสนอ Senior Project 2562

ภาควิชาชีววิทยาจัดงานสัมมนาวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาของภาควิชาได้มีโอกาสนำเสนอผลการศึกษาวิจัยจากวิชา วทชว 484 Senior Project ต่ออาจารย์และเพื่อน ๆ ในบรรยากาศวิชาการที่เป็นกันเอง ระหว่างวันพฤหัสที่ 25 และวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2562 นักศึกษามีเวลาในการนำเสนอผลงานของตนเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็ได้ เป็นเวลา 15 นาที และมีเวลาให้ซักถามคำถามจากอาจารย์และเพื่อน

Read More
งานวิจัยนักศึกษาหลักสูตรอาจารย์

หัวข้องานวิจัยสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชีววิทยา

ภาควิชาชีววิทยา จัดงานวันชี้แจงหัวข้องานวิจัยระดับปริญญาตรี ในวันพุธที่ 20 มีนาคม 2562 เวลา 13:00-16:30 ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข เพื่อให้นักศึกษาชีววิทยา ชั้นปีที่ 2 และ 3 ได้เลือกทำวิจัยที่ตนเองสนใจหรือมีความถนัดได้ และสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่สนใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก

Read More
งานวิจัยนักศึกษา

Senior Project Presentation 2018

การนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาภาควิชาชีววิทยา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 วันพฤหัสที่ 26 และวันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2561 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมงาน SciEx2018 Plenary talk: นายวชิรวิชญ์ รักชัย Short talk

Read More