กิจกรรมเสริม

ภาควิชาชีววิทยาในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พบกับภาควิชาชีววิทยาในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ณ ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพคเมืองทองธานี บูธเลขที่ 16,18,20,22 พร้อมชมตัวอย่างการเจริญของงูเห่า ตัวอย่างดองใส และมีการผ่าตัวอย่างเพื่อดูโครงสร้าง และอวัยวะภายใน   ภาพบรรยากาศวันงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563(Facebook ภาควิชา) วิดีโอสาธิตการผ่างูเห่าในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในวันที่

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 3งานวิจัย

Highlight Activities: Taxono-genomics description of Olsenella lakotia SW165T sp. nov., a new anaerobic bacterium isolated from the cecum of feral chicken

สังคมจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน จุลินทรีย์ในลำไส้มีหลากหลายและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างซับซ้อน บางกลุ่มให้ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านในทางบวก เช่นประโยชน์ทางโภชนาการ โดยการผลิตกรดไขมันสายสั้น เอนไซม์ และกรดอะมิโน รวมถึงมีความสามารถในการต่อต้านควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคการพัฒนาภูมิคุ้มกัน และรักษาสภาวะสมดุล บางกลุ่มก่อให้เกิดโทษ ทำให้สิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านอ่อนแอ ไม่สบายและก่อให้เกิดโรค ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีวิธีการศึกษาชนิดและความหลากหลายของจุลินทรีย์โดยที่ไม่ขึ้นกับการแยกและเพาะเลี้ยงเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรียในลำไส้ จำเป็นต้องมีการเพาะแยกเชื้อ เพื่อศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของจุลินทรีย์ ในปัจจุบัน แบคทีเรียในลำไส้ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแยกและศึกษาในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการสภาวะที่จะใช้ในการแยกและเพาะเลี้ยงเชื้อ ในการศึกษานี้จึงได้พัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงและแยกเชื้อแบบ

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 7งานวิจัย

Highlight Activities: แบคทีเรียทนร้อนที่มีความสามารถในการย่อยชีวมวล

ป่าในประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเรื่องความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่ พืชสัตว์ และ จุลชีพ งานวิจัยชิ้นนี้ผู้ทำการวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการคัดแยกแบคทีเรียทนร้อนThermoanaerobacterium sp. R63 จากดินในป่าในจังหวัดน่าน ประเทศไทย ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวสามารถโตได้ดีที่อุณหภูมิสูงถึง 65 องศาเซลเซียส โดยมีความสามารถในการย่อยชีวมวลได้หลายชนิด อาทิเช่น เซลลูโลสและไซแลน ซึ่งแบคทีเรียสายพันธุ์นี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนชีวมวลทางการเกษตรให้เป็นพลังงานทางชีวภาพในระดับอุตสาหกรรม ทั้งนี้งานวิจัยนี้มีผลการดำเนินการที่สอดคล้องกับเกณฑ์การพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรเพื่อสังคมของสหประชาชาติ(SDGs) ในหัวข้อที่ 7

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities: ระเบียนรายชื่อหอยทากบกจากตอนใต้ของประเทศกัมพูชา

ระเบียนรายชื่อหอยทากบกจากตอนใต้ของประเทศกัมพูชา การศึกษานี้และบันทึกเกี่ยวกับหอยทากบกในกัมพูชายังมีในปริมาณน้อย ถึงแม้ว่ากัมพูชาจะเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาความหลากหลายของหอยทากบกจากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้จากพื้นที่เขาหินปูนทางตอนใต้ของกัมพูชา จากการศึกษาพบหอยทากบกทั้งสิ้น 36 ชนิด แบ่งเป็นหอยทากบกในกลุ่ม Neritimorpha จำนวน 2 ชนิด กลุ่ม Caenogastropoda จำนวน 6 ชนิด และ กลุ่ม Heterobranchia

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities: ระเบียนรายชื่อหอยน้ำจืดจากทะเลสาบเขมรประเทศกัมพูชา

ระเบียนรายชื่อหอยน้ำจืดจากทะเลสาบเขมรประเทศกัมพูชา ทะเลสาบเขมร (หรือ โตนเลสาบ) ในประเทศกัมพูชาเป็นแหล่งน้ำจืดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญรองรับการประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก หอยน้ำจืดเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เป็นเป้าหมายในการทำประมง แต่อย่างไรก็ตามหอยน้ำจืดของลุ่มน้ำโตนเลสาบยังไม่ได้รับการสำรวจและจดบันทึกอย่างเป็นระบบ ในการศึกษาครั้งนี้ ทำการสำรวจหอยน้ำจืดในโตนเลสาบและแหล่งน้ำโดยรอบ พบหอยน้ำจืดทั้งหมด 31 ชนิด ประกอบไปด้วย หอยสองฝาจำนวน 15 ชนิด จาก 5 วงศ์ และ

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities: ปลิงควายชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

ปลิงควายชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย ปลิงควายในสกุล Hirudinaria เป็นปรสิตภายนอกดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ชนิดอื่น ในประเทศไทย Hirudinaria manillensis เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป ปลิงชนิดนี้มีรายงานด้วยกันสองรูปแบบสัณฐาน คือรูปแบบสัณฐานท้องสีเขียวเข้มและรูปแบบสัณฐานท้องสีแดง จากการศึกษาสัณฐานวิทยาโดยละเอียดของอวัยวะสืบพันธุ์และหลักฐานทาง DNA พบว่า รูปแบบสัณฐานท้องสีเขียวมีเความแตกต่างจากปลิงควายชนิด Hirudinaria manillensis และเป็นชนิดใหม่ที่ไม่มีการรายงานมาก่อน จึงได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hirudinaria thailandica

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities : กิ้งกือถ้ำชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

กิ้งกือถ้ำชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย ระบบนิเวศเขาหินปูนที่มีความสลับซับซ้อนมีระบบนิเวศถ้ำเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ แต่ยังได้รับการศึกษาน้อยมาก โดยเฉพาะการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ในถ้ำ การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาความหลากลายของกิ้งกือถ้ำ ซึ่งเป็นสัตว์ที่สำคัญทำหน้าที่ย่อยสลายซากต่าง ๆ ที่อยู่ในถ้ำ กิ้งกือกลุ่มนี้ได้ปรับตัวให้เหมาะสมกับการอยู่ในถ้ำ ในประเทศไทยพบด้วยกัน 3 สกุล ได้แก่ Trachyjulus Glyphiulus และ Plusioglyphiulus จากการเก็บรวบรวมตัวอย่างจากทั่วประเทศ พบว่ากิ้งกือถ้ำจากวัดถ้ำขรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities : ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของหอยนักล่าวงศ์ Streptaxidae ในประเทศไทยและประเทศข้างเคียง

ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของหอยนักล่าวงศ์ Streptaxidae ในประเทศไทยและประเทศข้างเคียง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีหอยทากหอยนักล่าวงศ์ Streptaxidae ทั้งหมดหกสกุล โดยใช้การจัดจำแนกจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเปลือกหอยเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการโดยใช้หลักฐานทาง DNA มาก่อน ในการศึกษานี้ใช้ตัวอย่างหอยทากจำนวน 89 ตัวอย่าง จากประเทศไทย มาเลเซียและลาว ซึ่งเป็นตัวแทนของหอย 36 ชนิดในหกสกุล ศึกษาโดยใช้ยีนดีเอ็นเอไมโตคอนเดรีย COI

Read More
รางวัลศิลปวัฒนธรรมศิษย์เก่า

62 ปี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ ในวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2563 ซึ่งถือเป็นวันครบรอบ 62 ปีของคณะฯ หัวหน้าภาควิชา รองหัวหน้าภาควิชา อาจารย์ และบุคลากรภาควิชาชีววิทยา ร่วมพิธีสักการะรูปหล่อศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ณ บริเวณอนุสรณ์สถานลานตึกกลม ร่วมแสดงความยินดีกับอาจารย์และศิษย์เก่าของภาควิชาฯ

Read More