Highlight Activities: Taxono-genomics description of Olsenella lakotia SW165T sp. nov., a new anaerobic bacterium isolated from the cecum of feral chicken

สังคมจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน จุลินทรีย์ในลำไส้มีหลากหลายและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างซับซ้อน บางกลุ่มให้ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านในทางบว เช่นประโยชน์ทางโภชนาการ โดยการผลิตกรดไขมันสายสั้น เอนไซม์ และกรดอะมิโน รวมถึงมีความสามารถในการต่อต้านควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคการพัฒนาภูมิคุ้มกัน และรักษาสภาวะสมดุล บางกลุ่มก่อให้เกิดโทษ ทำให้สิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านอ่อนแอ ไม่สบายและก่อให้เกิดโรค ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีวิธีการศึกษาชนิดและความหลากหลายของจุลินทรีย์โดยที่ไม่ขึ้นกับการแยกและเพาะเลี้ยงเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรียในลำไส้ จำเป็นต้องมีการเพาะแยกเชื้อ เพื่อศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของจุลินทรีย์ ในปัจจุบัน แบคทีเรียในลำไส้ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแยกและศึกษาในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการสภาวะที่จะใช้ในการแยกและเพาะเลี้ยงเชื้อ ในการศึกษานี้จึงได้พัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงแลแยกเชื้อแบบ culturomics โดยผลักดันให้แบคทีเรียที่มีปริมาณน้อยและไม่สามารถเพาะแยกได้มาก่อน ให้เจริญได้ โดยอาศัยเงื่อนไขของการปรับเปลี่ยนสภาวะการเพาะเลี้ยง เช่น สารอาหาร อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง และสภาวะบรรยากาศ รวมกับการใช้เทคนิคการจำแนกชนิดของจุลินทรีย์ด้วยวิธี matrix-assisted desorption ionization-time of flight mass spectrometry (MALDI-TOF MS),16S rRNA gene sequencing และ whole genome sequencing ทำให้สามารถแยกจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ Olsenella lakotia SW165T ได้จากตัวอย่างลำไส้ไก่ป่า ซึ่งแบคทีเรียที่แยกได้จะนำไปสู่การศึกษาต่อยอดในด้านหน้าที่ ปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมจุลินทรีย์ และบทบาทต่อสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม Wongkuna S, Ghimire S, Janvilisri T, Doerner K, ChankhamhaengdechaS, Scaria J. Taxono-genomics description of Olsenella lakotia SW165T sp. nov., a new anaerobic bacterium isolated from the cecum of feral chicken. F1000Research. 2020 Oct 09; 9:1103.

https://f1000research.com/articles/9-1103