บริการวิชาการ

ถ่ายทำรายการ”บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ตอนกล้องจุลทรรศน์

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ดำเนินการจัดทำรายารโทรทัศน์ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เพื่อปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสร้างสรรค์ พัฒนาสติปัญญา ใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาบริษัท บี อเมซซิ่ง

Read More
ทุนการศึกษานักศึกษา

ขอแสดงความยินดีกับนางสาวนีร พันธุ์อุดม นักศึกษาชั้นปีที่ 4

ภาควิชาชีววิทยา ขอแสดงความยินดีกับนางสาวนีร พันธุ์อุดม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (นานาชาติ) ที่ได้รับรางวัล “ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2020” จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย   SIM: International Bachelor Program, Faculty of Science, Mahidol

Read More
กิจกรรมเสริม

ภาควิชาชีววิทยาในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พบกับภาควิชาชีววิทยาในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ณ ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพคเมืองทองธานี บูธเลขที่ 16,18,20,22 พร้อมชมตัวอย่างการเจริญของงูเห่า ตัวอย่างดองใส และมีการผ่าตัวอย่างเพื่อดูโครงสร้าง และอวัยวะภายใน   ภาพบรรยากาศวันงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563(Facebook ภาควิชา) วิดีโอสาธิตการผ่างูเห่าในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในวันที่

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 3งานวิจัย

Highlight Activities: Taxono-genomics description of Olsenella lakotia SW165T sp. nov., a new anaerobic bacterium isolated from the cecum of feral chicken

สังคมจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน จุลินทรีย์ในลำไส้มีหลากหลายและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างซับซ้อน บางกลุ่มให้ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านในทางบวก เช่นประโยชน์ทางโภชนาการ โดยการผลิตกรดไขมันสายสั้น เอนไซม์ และกรดอะมิโน รวมถึงมีความสามารถในการต่อต้านควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคการพัฒนาภูมิคุ้มกัน และรักษาสภาวะสมดุล บางกลุ่มก่อให้เกิดโทษ ทำให้สิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านอ่อนแอ ไม่สบายและก่อให้เกิดโรค ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีวิธีการศึกษาชนิดและความหลากหลายของจุลินทรีย์โดยที่ไม่ขึ้นกับการแยกและเพาะเลี้ยงเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรียในลำไส้ จำเป็นต้องมีการเพาะแยกเชื้อ เพื่อศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของจุลินทรีย์ ในปัจจุบัน แบคทีเรียในลำไส้ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแยกและศึกษาในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการสภาวะที่จะใช้ในการแยกและเพาะเลี้ยงเชื้อ ในการศึกษานี้จึงได้พัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงและแยกเชื้อแบบ

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 7งานวิจัย

Highlight Activities: แบคทีเรียทนร้อนที่มีความสามารถในการย่อยชีวมวล

ป่าในประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเรื่องความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่ พืชสัตว์ และ จุลชีพ งานวิจัยชิ้นนี้ผู้ทำการวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการคัดแยกแบคทีเรียทนร้อนThermoanaerobacterium sp. R63 จากดินในป่าในจังหวัดน่าน ประเทศไทย ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวสามารถโตได้ดีที่อุณหภูมิสูงถึง 65 องศาเซลเซียส โดยมีความสามารถในการย่อยชีวมวลได้หลายชนิด อาทิเช่น เซลลูโลสและไซแลน ซึ่งแบคทีเรียสายพันธุ์นี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนชีวมวลทางการเกษตรให้เป็นพลังงานทางชีวภาพในระดับอุตสาหกรรม ทั้งนี้งานวิจัยนี้มีผลการดำเนินการที่สอดคล้องกับเกณฑ์การพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรเพื่อสังคมของสหประชาชาติ(SDGs) ในหัวข้อที่ 7

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities: ระเบียนรายชื่อหอยทากบกจากตอนใต้ของประเทศกัมพูชา

ระเบียนรายชื่อหอยทากบกจากตอนใต้ของประเทศกัมพูชา การศึกษานี้และบันทึกเกี่ยวกับหอยทากบกในกัมพูชายังมีในปริมาณน้อย ถึงแม้ว่ากัมพูชาจะเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาความหลากหลายของหอยทากบกจากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้จากพื้นที่เขาหินปูนทางตอนใต้ของกัมพูชา จากการศึกษาพบหอยทากบกทั้งสิ้น 36 ชนิด แบ่งเป็นหอยทากบกในกลุ่ม Neritimorpha จำนวน 2 ชนิด กลุ่ม Caenogastropoda จำนวน 6 ชนิด และ กลุ่ม Heterobranchia

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities: ระเบียนรายชื่อหอยน้ำจืดจากทะเลสาบเขมรประเทศกัมพูชา

ระเบียนรายชื่อหอยน้ำจืดจากทะเลสาบเขมรประเทศกัมพูชา ทะเลสาบเขมร (หรือ โตนเลสาบ) ในประเทศกัมพูชาเป็นแหล่งน้ำจืดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญรองรับการประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก หอยน้ำจืดเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เป็นเป้าหมายในการทำประมง แต่อย่างไรก็ตามหอยน้ำจืดของลุ่มน้ำโตนเลสาบยังไม่ได้รับการสำรวจและจดบันทึกอย่างเป็นระบบ ในการศึกษาครั้งนี้ ทำการสำรวจหอยน้ำจืดในโตนเลสาบและแหล่งน้ำโดยรอบ พบหอยน้ำจืดทั้งหมด 31 ชนิด ประกอบไปด้วย หอยสองฝาจำนวน 15 ชนิด จาก 5 วงศ์ และ

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities: ปลิงควายชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

ปลิงควายชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย ปลิงควายในสกุล Hirudinaria เป็นปรสิตภายนอกดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ชนิดอื่น ในประเทศไทย Hirudinaria manillensis เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป ปลิงชนิดนี้มีรายงานด้วยกันสองรูปแบบสัณฐาน คือรูปแบบสัณฐานท้องสีเขียวเข้มและรูปแบบสัณฐานท้องสีแดง จากการศึกษาสัณฐานวิทยาโดยละเอียดของอวัยวะสืบพันธุ์และหลักฐานทาง DNA พบว่า รูปแบบสัณฐานท้องสีเขียวมีเความแตกต่างจากปลิงควายชนิด Hirudinaria manillensis และเป็นชนิดใหม่ที่ไม่มีการรายงานมาก่อน จึงได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hirudinaria thailandica

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities : กิ้งกือถ้ำชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

กิ้งกือถ้ำชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย ระบบนิเวศเขาหินปูนที่มีความสลับซับซ้อนมีระบบนิเวศถ้ำเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ แต่ยังได้รับการศึกษาน้อยมาก โดยเฉพาะการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ในถ้ำ การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาความหลากลายของกิ้งกือถ้ำ ซึ่งเป็นสัตว์ที่สำคัญทำหน้าที่ย่อยสลายซากต่าง ๆ ที่อยู่ในถ้ำ กิ้งกือกลุ่มนี้ได้ปรับตัวให้เหมาะสมกับการอยู่ในถ้ำ ในประเทศไทยพบด้วยกัน 3 สกุล ได้แก่ Trachyjulus Glyphiulus และ Plusioglyphiulus จากการเก็บรวบรวมตัวอย่างจากทั่วประเทศ พบว่ากิ้งกือถ้ำจากวัดถ้ำขรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Read More