ภาควิชาชีววิทยา (40 ปี คณะวิทยาศาสตร์)
ภาควิชาชีววิทยา ตั้งอยู่ที่ถนนพระรามที่ 6 พญาไท และศาลายา จังหวัดนครปฐม เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาชีววิทยา ระดับปริญญาโท สาขาชีววิทยาสภาวะแวดล้อม และปริญญาเอกสาขาชีววิทยา
บุคลากร: ภาควิชาชีววิทยามีอาจารย์ประจำในปัจจุบัน 38 คน มีนักศึกษาปริญญาตรี 84 คน นักศึกษาปริญญาโท 54 คน และนักศึกษาปริญญาเอก 8 คน
การเรียนการสอน: หลักสูตรระดับปริญญาตรีได้จัดกลุ่มตามความสนใจและความถนัดของนักศึกษาไว้ 5 แขนงวิชาดังนี้ (1) แขนงวิชาชีววิทยาทั่วไป (2) แขนงวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (3) แขนงวิชาชีววิทยาของพาหะนำโรคและการควบคุม (4) แขนงวิชาชีววิทยาระดับเซลล์และโมเกลุล (5) แขนงวิชาชีววิทยาอุตสาหการ
หลักสูตรปริญญาโทและเอก นักศึกษาบัณฑิตเมื่อได้ศึกษาวิชาแกนของภาควิชาแล้ว สามารถเลือกโปรแกรมลงเรียนได้ถึง 10 โปรแกรม คือ
- ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
- วิทยาชีวภาพของมลพิษ
- เทคโนโลยีชีวภาพของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- นิเวศวิทยาและชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ
- พันธุศาสตร์
- กีฏวิทยาทางการแพทย์
- สังขวิทยาทางการแพทย์
- ปรสิตวิทยา
- ชีวพิษวิทยา
- พฤกษศาสตร์
งานวิจัยและแหล่งเงินทุน
อาจารย์ในภาควิชาชีววิทยาได้ทำการค้นคว้าวิจัยเพื่อค้นหาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และมีบางส่วนสืบเนื่องไปยังวิทยาศาสตร์ประยุกต์ แหล่งเงินทุนที่สนับสนุนคือ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
- ทุนพัฒนานักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ทุนโครงการหลวง
- ทุนสภาวิจัยแห่งสหราชอาณาจักร
- ทุนกาญจนาภิเษก
โครงการที่กำลังดำเนินการได้แก่
- การย้ายเซลล์ที่ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ในกุ้มก้ามกราม เพื่อนำไปสู่การถ่ายโอนยีน
- การปรับปรุงการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ
- ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในเอเซีย
- การศึกษาทางด้านอณูวิทยาเพื่อพัฒนาการใช้เดนโซไวรัสสายพันธุ์เมืองไทยในการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออก
- โครงการลักษณะของแอนติเจนใน Fasciola gigantica ฬนการพัฒนาและปรับปรุงวัคซีนเพื่อภูมิคุ้มกัน
- พันธุศาสตร์เชิงประชากรของสปีชีส์ริ้นดำในประเทศไทย
- การศึกษาความหลากหลาย การแพร่กระจายและความสามารถของ Wolbachia ในการนำพายีนเข้าสู่ประชากรธรรมชาติของแมลงวันอบ้าน
- ความหลากหลายของเห็ด
- การศึกษานิเวศวิทยาและพันธุศาสตร์ของแตนเบียนในแมลงวันทองเพื่อการควบคุมทางชีวภาพ
- การศึกษาอณูพันธุศาสตร์ในแมลงวันผลไม้โดยใช้ยีนฮีดช้อคเป็นโมเดล
- การบำบัดคราบน้ำมันที่ปนเปื้อนในดิน
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของกล้วยไม้ป่าไทยและพันธุ์ไม้อนุรักษ์
- การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของนองนางรมไทย
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง