RELATED SDGs : 3

Highlight Activities 2021:RELATED SDGs : 3งานวิจัย

Highlight Activities 2021: Temporal Variations in Patterns of Clostridioides difficile Strain Diversity and Antibiotic Resistance in Thailand

การติดเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียดื้อยา จัดเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะการติดเชื้อ Clostridioides difficile ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงและโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ อุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคจากการติดเชื้อ C. difficile เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการอุบัติขึ้นของเชื้อ C. difficile ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ  นอกเหนือจากการดื้อยาปฏิชีวนะแล้วความรุนแรงของการติดเชื้อ ยังมีความสัมพันธ์กับการผลิตสารพิษของเชื้ออีกด้วย ในประเทศไทยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแบคทีเรียชนิดนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง ดังนั้นในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบเชื้อ

Read More
Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 3งานวิจัย

Highlight Activities: Taxono-genomics description of Olsenella lakotia SW165T sp. nov., a new anaerobic bacterium isolated from the cecum of feral chicken

สังคมจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน จุลินทรีย์ในลำไส้มีหลากหลายและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างซับซ้อน บางกลุ่มให้ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านในทางบวก เช่นประโยชน์ทางโภชนาการ โดยการผลิตกรดไขมันสายสั้น เอนไซม์ และกรดอะมิโน รวมถึงมีความสามารถในการต่อต้านควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคการพัฒนาภูมิคุ้มกัน และรักษาสภาวะสมดุล บางกลุ่มก่อให้เกิดโทษ ทำให้สิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านอ่อนแอ ไม่สบายและก่อให้เกิดโรค ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีวิธีการศึกษาชนิดและความหลากหลายของจุลินทรีย์โดยที่ไม่ขึ้นกับการแยกและเพาะเลี้ยงเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรียในลำไส้ จำเป็นต้องมีการเพาะแยกเชื้อ เพื่อศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของจุลินทรีย์ ในปัจจุบัน แบคทีเรียในลำไส้ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแยกและศึกษาในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการสภาวะที่จะใช้ในการแยกและเพาะเลี้ยงเชื้อ ในการศึกษานี้จึงได้พัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงและแยกเชื้อแบบ

Read More