Highlight Activities 2021: Bioleaching of Gold from Silicate Ore by Macrococcus caseolyticus and Acinetobacter calcoaceticus: Effect of Medium, Amino Acids and Growth Supernatant
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดทองคำโดยใช้แบคทีเรีย (bioleaching) ที่แยกได้จากแร่ซิลิเกต ได้แก่ Macrococcus caseolyticus, Acinetobacter calcoaceticus, และ Bacillus sp. MBEA40 อย่างไรก็ตาม มีเพียง M. caseolyticus and A. calcoaceticus เท่านั้นที่สามารถทำให้เกิดกระบวนการ bioleaching ในการเกิดทองได้ และเพื่อศึกษาเฉพาะผลจากจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ bioleaching ทอง อาหารเลี้ยงเชื้อประเภท minimal medium และอาหารเลี้ยงเชื้อ ethanol mineral salt medium ซึ่งปราศจากกรดอะมิโนจึงถูกนำมาใช้สำหรับการเพาะเลี้ยง M. caseolyticus และ A. calcoaceticus ตามลำดับ ผลการศึกษาของเหลวที่ใช้ในการเลี้ยงจุลินทรีย์แบบไม่มีเซลล์ของทั้งสองสายพันธ์น่าจะมีความเหมาะสมในการสกัดทองจากแร่มากกว่าแบบมีเซลล์จุลินทรีย์เพราะไม่มีการรบกวนจากการดูดซึมทองและความเป็นพิษของต่อจุลินทรีย์ ผลการทดลองยืนยันว่ากรดอะมิโน เปปไทด์ โปรตีนที่ผลิตโดยจุลินทรีย์อาจเกี่ยวข้องกับการสกัดทองด้วยจุลชีพ ดังแสดงในผลการทดลองด้วย high-performance liquid chromatography (HPLC) และจากการศึกษา Fourier transform infrared spectroscopy (FTIR) พบว่ากลุ่มเอมีนและกลุ่มคาร์บอกซิลิกจาก M. caseolyticus and A. calcoaceticus มีบทบาทสำคัญในกระบวนการ bioleaching เพื่อสกัดทอง นอกจากนี้กระบวนการ bioleaching ทำให้เกิดกระบวนการ leaching ที่ทำให้เกิดทองมากกว่ากรดอะมิโนบริสุทธิ์แบบผสมอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากของเหลวที่ใช้ในการเลี้ยงจุลินทรีย์แบบไม่มีเซลล์ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน เปปไทด์ โปรตีนผสมและสารประกอบอื่น ๆ ดังนั้นของเหลวที่ใช้ในการเลี้ยงจุลินทรีย์ของ M. caseolyticus และ A. calcoaceticus สามารถนำไปใช้ในการสกัดทองคำด้วยจุลชีพได้ ภายใต้สภาวะ pH เป็นกลาง ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัย ไม่กัดกร่อน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการเกิด bioleaching ทองคำและลดเวลาการทำงาน
Kudpeng,K.;Thayanukul, P.; Thiravetyan, P. Bioleaching of Gold from Silicate Ore by Macrococcus caseolyticus and Acinetobacter calcoaceticus: Effect of Medium, Amino Acids and Growth Supernatant. Minerals 2021, 11, 580. https://doi.org/10.3390/ min11060580
ผลงานที่ตีพิมพ์มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs
เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม ข้อย่อย 9.5 เพิ่มพูนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกาลังพัฒนา และให้ภายในปี 2573 มีการส่งเสริมนวัตกรรมและให้เพิ่มจานวนผู้ทางานวิจัยและพัฒนาต่อประชากร 1 ล้านคนและการใช้จ่ายในภาคสาธารณะและเอกชนในการวิจัยและพัฒนาให้เพิ่มมากขึ้น