RELATED SDGs : 15

Highlight Activities 2022:RELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities 2022: Genetic analysis of hybridization between white-handed (Hylobates lar) and pileated (Hylobates pileatus) gibbons in a contact zone in Khao Yai National Park, Thailand

Asst. Prof. Chalita Kongrit โดยปกติแล้วชะนีแต่ละชนิดที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติมีการกระจายตัวไม่ซ้อนทับกัน (allopatric distribution)  แต่มีเพียง 3 แห่งในโลกนี้เท่านั้นที่พบชะนีต่างชนิดอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นเพียงพื้นที่เดียวที่พบชะนีมือขาว (Hylobates lar) และชะนีมงกุฎ (Hylobates pileatus) อาศัยอยู่ในพื้นที่ซ้อนทับ (contact zone) ร่วมกัน

Read More
Highlight Activities 2021:RELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities 2021: Proteomics and immunocharacterization of Asian mountain pit viper (Ovophis monticola) venom

งูหางแฮ่มภูเขาจัดเป็นงูมีพิษในกลุ่ม pit viper พบกระจายอยู่ตามแถบภูเขาสูงในเขตภาคเหนือของประเทศไทย องค์ความรู้เรื่องของพิษของงูชนิดนี้มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูชนิดนี้กัด ผลศึกษาด้วย mass spectrometry-based proteomics ในงานวิจัยนี้ พบว่าในมีพิษงูหางแฮ่มภูเขามีโปรตีนมากถึง 247 ชนิดเป็นองค์ประกอบ โดยโปรตีนกลุ่ม venom metalloproteases (SVMP) มีปริมาณสูงสุดคือ 36.8%

Read More
Highlight Activities 2021:RELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities 2021:Abundance and habitat associations of the globally endangered Giant Nuthatch Sitta magna in Southern Shan State, Myanmar

งานวิจัยนี้ศึกษาพื้นที่อาศัยของนกไต่ไม้ใหญ่ (Sitta magna) ในประเทศเมียนมาร์ต่อเนื่องมาจากการศึกษาพื้นที่อาศัยในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งประเทศเมียนมาร์เป็นพื้นที่ที่นกไต่ไม้ใหญ่อาศัยอยู่ประมาณ 30% ของพื้นที่ที่นกชนิดนี้แพร่กระจาย ผลการศึกษาพบว่าประชากรนกไต่ไม้ใหญ่บริเวณ Mt. Ashae Myin Anauk Myin (AMAM) มีประมาณ 56 ตัว ต่อพื้นที่ 3.25 ตารางกิโลเมตร

Read More
Highlight Activities 2021:RELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities 2021: Giant Nuthatch Sitta magna density and habitat association in a potential stronghold in northern Thailand

นกไต่ไม้ใหญ่ (Sitta magna) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากมีการกระจายที่แคบ คือ ช่วงตอนใต้ของประเทศจีนต่อเนื่องมายังภาคเหนือของประเทศไทยและเมียนมาร์ ที่กำลังประสบปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า ในส่วนของประเทศไทย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาวเป็นแหล่งอาศัยที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งของนกไต่ไม้ใหญ่ การศึกษาการกระจายและความหนาแน่นตลอดจนพฤติกรรมการหาอาหารเป็นการยืนยันสมมติฐานนี้ คือพื้นที่ป่าในดอยเชียงดาวมีความเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น ความหนาแน่นของประชากรนกไต่ไม้ใหญ่ยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับขนาดของต้นไม้ ข้อมูลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของต้นไม้ขนาดใหญ่ในการเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของนกไต่ไม้ใหญ่ ข้อมูลจากงานวิจัยนี้มีผลต่อการวางแผนการจัดการพื้นที่ป่าเพื่อรักษาสภาพความสมบูรณ์ โดยเฉพาะต้นไม้ขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งอาศัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด รวมถึงสัตว์ป่าหายากที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างนกไต่ไม้ใหญ่ สอดคล้องกับ SDG ข้อที่

Read More
Highlight Activities 2021:RELATED SDGs : 15งานวิจัย

Highlight Activities 2021: ความสำคัญของพื้นที่อนุรักษ์ในภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยพิจารณาจากพันธุศาสตร์ประชากรของปลาพลวง (Neolissochilus soroides)

เรื่อง ความสำคัญของพื้นที่อนุรักษ์ในภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยพิจารณาจากพันธุศาสตร์ประชากรของปลาพลวง (Neolissochilus soroides) ปลาพลวงชนิด Neolissochilus soroides (ภาพ A) เป็นปลาน้ำจืดที่พบทั่วไปในบริเวณน้ำตกของภาคตะวันออกที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและคาบสมุทรมลายู การพบปลาพลวงเป็นจำนวนมากในแหล่งน้ำเป็นที่ดึงดูดของนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม แม้ว่าปลาพลวงจะมีจำนวนมากมายในบริเวณน้ำตกในเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งเป็นแหล่งน้ำคุณภาพดี น้ำใส มีปริมาณออกซิเจนมาก แต่เมื่อออกมาภายนอกเขตอุทยานซึ่งล้อมรอบไปด้วยสวนผลไม้และพื้นที่หมู่บ้าน กลับไม่พบปลาพลวงเลยโดยเฉพาะในฤดูแล้งที่น้ำในลำธารด้านล่างแห้งขอดหรือน้ำขุ่น นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่ที่พบตัวอย่างทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติด้านที่หันหน้าเข้าอ่าวไทย ส่วนพื้นที่ที่อยู่ด้านหลังเทือกเขาในจังหวัดจันทบุรีในลุ่มน้ำโตนเลสาบล่าง ไม่พบปลาพลวง (ภาพ

Read More