Bio-Geo Path

ไดโนเสาร์มีปีกดึกดำบรรพ์

เทโรซอร์ (pterosaur)

แบบจำลองของสัตว์เลื้อยคลานบินได้แห่งยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งพบว่าเคยมีชีวิตอยู่ในมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) ตั้งแต่ตอนปลายของยุคไทรแอสซิก (Triassic Period) ถึงยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) หรือเมื่อกว่า 266 ถึงเมื่อ 66 ล้านปีก่อน เทโรซอร์เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานที่มีโครงสร้างของปีกที่เกิดขึ้นมาจากหนังและกล้ามเนื้อที่ยึดและเชื่อมโยงจากหัวเข่าขึ้นมาจนถึงนิ้วมือที่มีลักษณะยาวเป็นพิเศษอีกด้วย คนทั่วไปอาจคุ้ยเคยกับชื่อเทอโรแดกทิล (pterodactyls) มากกว่าจากนิยายและสื่อต่าง ๆ การศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมัน พบว่ามีความหลากหลายในด้านอาหาร ซึ่งอาจกินปลา และสัตว์บกขนาดเล็ก การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไข่ ทำให้เราทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสืบพันธุ์ของพวกมันว่าต้องวางไข่เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลาน แม้ในที่สุดแล้วเทโรซอร์ไม่ใช่บรรพบุรุษของนกในปัจจุบันแต่มันก็มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการกับนกอยู่บ้างเหมือนกัน

เทโรซอร์ ถูกเลือกให้มาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางศึกษาชีววิทยาและธรณีศาสตร์ (Bio-Geo Path) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกที่สามารถบินอยู่บนท้องฟ้าได้สำเร็จ