บริการวิชาการเกี่ยวกับเราโครงการ

โครงการรื้อฟื้นตัวอย่างอ้างอิงและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

  1. ชื่อโครงการ/ กิจกรรม : โครงการรื้อฟื้นตัวอย่างอ้างอิงและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล (Reference collection restoration and natural history museum establishment)

 

หลักการและเหตุผล

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา (Natural History Museum) เป็นรูปแบบหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานที่ให้ความรู้แก่ประชาชน และดำเนินการวิจัยด้านธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเรื่องของชีวิต จุดกำเนิดชีวิตทรัพยากรธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับชีวิตต่างๆ อันเป็นจุดกำเนิดของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการ การปรับตัว ชีวิตความเป็นอยู่ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาประกอบด้วยสองส่วนหลัก คือ ส่วนจัดแสดงและส่วนตัวอย่างอ้างอิง ส่วนแรกนั้นจะจัดแสดงตัวอย่างที่เก็บสะสมในรูปแบบนิทรรศการทั้งแบบถาวรและหมุนเวียน มีการจัดแสดงอย่างสวยงาม มีข้อความประกอบเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป อีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมคือส่วนคลังตัวอย่างอ้างอิง ส่วนนี้จะเป็นที่เก็บสะสมตัวอย่างที่เกิดจากการวิจัย การออกสำรวจ การเรียนการสอน มีการจัดเก็บตัวอย่างเป็นหมวดหมู่เป็นระบบถูกต้องตามหลักอนุกรมวิธาน ตัวอย่างแต่ละตัวจะมีหมายเลขอ้างอิงที่สามารถใช้สืบค้นได้ สามารถเพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิง ศึกษา ค้นคว้าของนักวิจัย นักเรียน นักศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ ในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่สำคัญของโลกจะมีการเก็บสะสมตัวอย่างอ้างอิงจำนวนมหาศาลนับล้านตัวอย่าง ซึ่งเป็นขุมทรัพท์สำคัญของมวลมนุษยชาติ สามารถใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบในงานวิจัย เพื่อใช้สืบค้นไปยังอดีต เข้าใจความเป็นไปในปัจจุบัน และทำนายอนาคตได้ บทบาทสำคัญอีกประการของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยคือการ ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษา โดยเฉพาะวิชาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นรายวิชาสัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง กีฏวิทยา ฯลฯซึ่งการได้เห็น จับต้องตัวอย่างจริง จะทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากของจริง ไม่ใช่เพียงในรูปถ่ายหรือตัวอย่างจำลอง

ตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการเรียนการสอนและการวิจัยทางด้านธรรมชาติวิทยาอย่างเข้มข้น มีผลผลิตออกมาอย่างเป็นรูปธรรม มีตัวอย่างวิจัยสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเหล่านี้มีทั้งที่เป็นโครงกระดูกสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตัวอย่างดอง ตัวอย่างแมลง เปลือกหอย เป็นจำนวนมากนับหมื่นตัวอย่าง โดยเฉพาะตัวอย่างเปลือกหอย ที่ครอบคลุมหอยเกือบทุกกลุ่มในประเทศไทย ตัวอย่างเหล่านี้มีคุณค่าทั้งในด้านวิชาการและทางประวัติศาสตร์ สมควรมีการเก็บรักษาให้เป็นระบบตามมาตรฐานสากลและเป็นการวางรากฐานระบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ เพื่อรองรับงานวิจัยที่จะมีขึ้นในอนาคต สนับสนุนการเรียนการสอน และให้ความรู้แก่ประชาชนต่อไป

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อรื้อฟื้น จัดระบบ จัดทำบัญชีรายชื่อ บำรุงรักษา ตัวอย่างอ้างอิงที่มีการเก็บรักษาในภาควิชาชีววิทยา
  • เพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล โดยประกอบด้วยส่วนจัดแสดงนิทรรศการฐาวรและส่วนคลังตัวอย่างอ้างอิง บริเวณตึก SC2 ชั้น 3 คณะวิทยาศาสตร์ ศาลายา
  1. ลักษณะโครงการ (…..)  โครงการต่อเนื่อง               (P)   โครงการใหม่

 

  1. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ภาควิชาชีววิทยา โทรศัพท์ติดต่อ 02-201-5250

 

  1. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ขอให้ระบุเพียง 1 ยุทธศาสตร์ (1 โครงการต่อ 1 ยุทธศาสตร์)

 

X ยุทธศาสตร์ที่ 1 Excellence in research with global and social impact
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Excellence in outcome-based education for globally – competent graduates
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Excellence in professional services and social engagement
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Excellence in management for sustainable organization

 

  1. ระยะเวลาดำเนินโครงการ เริ่มต้น มกราคม พ.ศ. 2559 สิ้นสุด ธันวาคม พ.ศ. 2561 (โครงการ 3 ปีต่อเนื่อง)

 

  1. เป้าหมายผลผลิตและตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย

( แผน )

เป้าหมายการดำเนินงาน

6 เดือน

(1 ต.ค.58-31 มี.ค.59)

12 เดือน

(1 ต.ค.58-30 ก.ย.59)

1.       บัญชีรายการ (Check-list) ของตัวอย่างอ้างอิง แยกตามประเภทสิ่งมีชีวิต ฉบับ 2 1 1
2.       นิทรรศการถาวรจัดแสดงตัวอย่างเปลือกหอยและแมลง ห้อง 1 1 1

 

  1. 7. แผนการใช้จ่ายงบประมาณของโครงการ

180,000 บาท (60,000 บาท/ปี)

แหล่งเงิน จำนวนเงินที่ได้รับ แผนการใช้จ่าย

6 เดือน

(1 ต.ค.58-31 มี.ค.59)

12 เดือน

(1 ต.ค.58-30 ก.ย.59)

7.1 เงินงบประมาณแผ่นดิน 60,000.- 60,000.-
7.2 เงินรายได้มหาวิทยาลัย
7.3 เงินรายได้คณะวิทยาศาสตร์
7.4 แหล่งเงินอื่นๆ (โปรดระบุ………….)
รวมทั้งสิ้น 60,000.- 60,000.-

 

  1. แผนการดำเนินงาน
รายการ ปีงบประมาณ 2559
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.       ทำความสะอาดและบำรุงรักษาตัวอย่าง
2.       จัดเก็บตัวอย่างพร้อมจัดทำบัญชีรายการ
3.       จัดแสดงตัวอย่างเปลือกหอยและแมลง

 

  1. รูปแบบของกิจกรรม / วิธีการดำเนินกิจกรรม (ถ้ามี)