ปฏิบัติการรายวิชา

การทำโมเดลสัตว์ด้วยดินญี่ปุ่น

ปฏิบัติการชีววิทยา วิชาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้องปฏิบัติการ N500 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาชีววิทยา ได้ฝึกใช้ดินญี่ปุ่น (ดินเยื่อกระดาษ) ในการขึ้นรูปโมเดลสิ่งมีชีวิตที่เป็นไฟลัมย่อย เช่นไฟลัมของหอยราก หนอนถั่ว เป็นต้น โดยมีวิทยากรเป็นนักศึกษาช่วยสอน (teaching assistant: TA)

แก่นพงศ์ บุญถาวร

วัสดุอุปกรณ์

  • ดินญี่ปุ่น/ดินเยื่อกระดาษ (paperclay/fiberclay)
  • กระดาษหนังสือพิมพ์
  • อลุมิเนียมฟอยล์ (aluminium foil)
  • ลวดหรือลวดหนีบกระดาษ
  • น้ำเปล่า
  • อุปกรณ์เสริมทั่วไปเช่น กรรไกร คัตเตอร์ ไม้บรรทัด ฯลฯ
  • สีโปสเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องการลงสี
  • ถุงพลาสติกใส เพื่อใช้รองไม่ให้เปื้อนพื้นโต๊ะ

ดินญี่ปุ่นที่ใช้ในปฏิบัติการนี้ซื้อจากห้างโตคิว ราคา 263 บาท ณ วันที่ 23 ก.พ. 2560

นักศึกษาจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยและได้รับมอบหมายให้เลือกไฟลัมย่อย มาทำโมเดล

  • โมเดล แสดงสภาพภายนอก
  • โมเดล แสดงอวัยวะภายใน

ให้นักศึกษาพิจารณาวางแผนเพื่อออกแบบชิ้นงาน และให้ขึ้นรูปชิ้นงานด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ขยำแล้วห่อหุ้มด้วยกระดาษฟอยล์จนเป็นแกนของชิ้นงาน

การใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นแกนช่วยให้ประหยัดดินที่จะต้องใช้ กระดาษฟอยล์ช่วยให้กระดาษหนังสือพิมพ์คงรูปอยู่ได้ จากนั้นใช้ดินญี่ปุ่นขึ้นรูป โดยทำเป็นแผ่น ปะไปรอบชิ้นงาน เติมดินเป็นส่วนประกอบอื่น ๆ ตามเหมาะสม เช่นส่วนหน้าตา และเท้าเป็นต้น ในภาพข้างบนเป็นการทำรายละเอียดของนิ้วเท้า

น้ำช่วยใด้ดินนิ่ม และยึดติดกันได้ แต่หากต้องการติดโครงสร้างต่าง ๆ ให้ทนทานมากขึ้น ควรใช้กาวลาเท็กซ์ หากทิ้งดินไว้จนแห้ง อาจต้องใช้น้ำมากกว่าปกติในการทำให้ดินนิ่มอีกครั้ง ดินญี่ปุ่นนั้น ไม่ต้องอบ ก็แข็งได้เมื่อแห้งตัวลง

การใช้ปลายลวดเย็บกระดาษสร้างพื้นผิวสามมิติ ช่วยให้ดูสมนจริงมากขึ้นได้

สภาพของหมีน้ำ (water bear) เมื่อสิ้นสุดกระบวนการในวันแรก

ผลงานนักศึกษา

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

หากมีความสามารถทำโมเดลได้ดี สามารถนำทักษะความรู้ไปประกอบอาชีพดังเช่นที่วิทยากรของเรา นำทักษะไปใช้ในการจัดทำโมเดลสัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาสำหรับอุทยานวิทยาศาสตร์ TK Park ได้นั่นเอง

Molluscs