เกี่ยวกับเรา

BioPress เว็บไซต์ภาควิชาชีววิทยา สายพันธุ์ใหม่

BioPress_20150320_1024px

โฉมหน้าเว็บไซต์ภาควิชาชีววิทยาใหม่ล่าสุด มีชื่อเล่นว่า “BioPress” ในวันที่มีโพสต์พื้นฐาน Hello World! เพียงแค่โพสต์เดียว

ประวัติการพัฒนา

  • 26 ธันวาคม 2557 ภาควิชาชีววิทยา ทำหนังสือแจ้งงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์มงคลสุข เพื่อขอโดเมนใหม่ในการจัดทำเว็บไซต์ และใช้ระบบจัดการข้อมูล (CMS) แบบ WordPress
  • มีนาคม 2558 โดเมน biology.sc.mahidol.ac.th เริ่มใช้งานได้
  • 19 มีนาคม 2558 ติดตั้งระบบจัดการเนื้อหา WordPress เวอร์ชันใหม่ล่าสุดบนเซิร์ฟเวอร์
  • 20 มีนาคม 2558 ผู้ดูแลเว็บไซต์ภาควิชาชีววิทยา (อ.ณัฐพล อ่อนปาน) ได้รับ account และรหัสผ่าน เพื่อใช้งานเว็บไซต์ผ่าน CMS แบบ WordPress เวอร์ชันล่าสุด ภาพหน้าจอแรกของเว็บไซต์แห่งนี้ แสดงดังด้านบน

ที่มาของ BioPress

ชื่อเล่นของเว็บไซต์นี้ ตั้งโดยผู้ดูแลเว็บไซต์ โดยนำคำว่า Biology ซึ่งเป็นชื่อภาควิชาชีววิทยา มารวมกับคำว่า WordPress ที่เป็นระบบจัดการเนื้อหา กลายเป็น “BioPress” 

ธีม

Theme: WP Flat Thirteen
Theme: WP Flat Thirteen

เช้าวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2558 ตัดสินใจลองเปลี่ยนธีม ที่เดิมใช้ WP Flat Thirteen มาเป็นทีม The Newswire เนื่องจากปัญหาธีมเดิมที่เมื่อแสดงผลบนอุปกรณ์พกพาแล้วไม่สามารถคลิมอ่านโพสต์ได้ ส่วนการเลือกธีมใหม่นี้ ก็ใช้เกณฑ์ในการเลือกที่เน้นความเรียบง่ายแต่ดูทันสมัย

BioPress_20150511_smภาพหน้าจอของเว็บไซตฺ์ภายใต้ธีม The Newswire

วิวัฒนาการของ BioPress

BioPress_Evolution_20150320

หลังจากพบว่าธีม WP Flat Thirteen มีรูปแบบที่น่าจะใช้ได้กับการนำเสนอเนื้อหาในเว็บแล้ว ก็ถึงเวลาเพิ่มเนื้อหาจริงๆ และข้อดีที่เห็นได้ชัดของการใช้ WordPress ก็คือสามารถเพิ่มเนื้อหาได้ง่ายมากๆ จากภาพประกอบข้างบน แสดงให้เห็นภาพหน้าจอตอนเริ่มต้น (ภาพซ้าย) ภาพตอน 19:00 (ภาพกลาง) และหน้าเว็บไซต์ในเวลา 20:00 (ภาพขวาสุด)

เชื่อมโยงเว็บภาควิชาเดิมกับ BioPress

RSS_to_SCBI_20150322

ข้อเสียของเว็บภาควิชาเดิมคือการอัพเดททำได้ลำบาก ต้องทำเองทุกขั้นตอน แต่เมื่อนำ WordPress มาใช้ก็ทำให้การอัพเดทเนื้อต่างๆ ทำได้ง่ายมาก ดังนั้นจึงจะรวมจุดแข็งของเว็บใหม่ ไปแก้จุดอ่อนของเว็บภาควิชาเดิม โดยการนำเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นไปแสดงบนเว็บเดิม และต้องเกิดแบบอัตโนมัติ

เนื่องจากโปรแกรม WordPress เองมีการสร้างเนื้อหาในรูปของ RSS Feed อยู่แล้ว จึงเขียนโค้ด PHP ให้เว็บภาควิชาเดิมดึงเอาเนื้อหาจากเว็บใหม่ไปแสดง ซึ่งดูจะไม่ยากเย็นอะไร จนกระทั่งพบว่าตัวอักษรภาษาไทยแสดงผลผิดพลาดอ่านไม่ออกเลย ในขณะที่ตัวอักษรภาษาอังกฤษดูปกติดู

หากลองดูข้อมูลดิบของ RSS Feed ก็ยังอ่านข้อมูลภาษาไทยได้ แต่เมื่อโหลดมาแสดงบนเว็บเดิม กลับอ่านไม่ออก ทั้งๆที่ภาษาไทยบนเว็บเดิมก็ยังอ่านได้อยู่ปกติ (เช่นที่กดว่า ไทย บนเมนูหลักด้านบน) ในขณะนี้ยังไม่เข้าใจว่าภาษาไทยที่ออกมาจาก RSS Feed เป็นรูปแบบไหนกันแน่ เพราะในจุดที่เช็คได้ก็คือเมื่อโหลดข้อมูลมาใส่ในอะเรย์ ก็พบว่าข้อมูลใน array เป็นภาษาประหลาดไปเสียแล้ว

อัพเดทโดย Admin/Webmaster วันที่ 22 มี.ค. 2558 เวลา 11:40

อัพเดท 19 เมษายน 2558 เวลา 18:20

Official_Fix_20150419

แก้ปัญหาการแสดงผลภาษาไทยด้วยการตั้งให้ใช้ชุดตัวอักษร UTF-8 และในเมื่อแก้ไขหน้าเพจนี้แล้ว ก็เลยเติม Facebook Social Plugin ให้แสดง Fanpage MUSC.Bio ของภาควิชาไปด้วยเสียเลย

Table/ตาราง

สิ่งที่ editor ของ WordPress ไม่มีให้ใช้คือเครื่องมือสำหรับการสร้างตาราง (table) ทำให้ต้องไปดาวน์โหลด plug-in ที่ช่วยสร้างตารางให้มาใช้เช่น Easy Table ที่เริ่มใช้บน BioPress ในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2558

Youtube

จากปัญหาที่ไม่สามารถแทรก youtube ได้ จึงเลือกใช้ WP Youtube Lyte แก้ปัญหาไปพลางๆก่อน (อัพเดท 24 มี.ค. 2558)

อัพเดท 27 มี.ค. 2558 หลังจากเริ่มใช้ WP Youtube Lyte ก็พบว่าหน้าแรกของเว็บไซต์โหลดขึ้นช้ามาก เมื่อทดลอง Deactivate plug-in ตัวนี้แล้วปรากฎว่าปัญหาหายไป จึงจำเป็นต้องยกเลิกการใช้ plug-in ตัวนี้ แนะในขณะที่การ embed วีดิโอจาก Youtube ทำแบบตัดแปะไม่ได้เนื่องจากปัญหาอะไรก็ไม่ทราบได้ จึงใช้วิธีนำลิงก์ที่จากจาก Youtube ที่ใช้ tag แบบ iframe มาใช้แทน แก้ปัญหาไปก่อน

Statistics

เลือก WP Statistics มาใช้ แต่ตอนนี้ deactivate เอาไว้ก่อน เพราะไม่แน่ใจว่าจะสร้างปัญหากับเรื่องปริมาณข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์หรือไม่ (อัพเดท 24 มี.ค. 2558)

Quiz & Exam

เลือกใช้ Watu plug-in ซึ่งควรจะปรากฎ quiz ขึ้นมาให้ทำหาก plug-in ทำงาน (อัพเดท 24 มี.ค. 2558)

This quiz is automatically created to help you get started. It will be created only once.

Select the correct answer:

 
 
 

Select all correct answers:

 
 
 

Do you have any comments about this quiz?


Question 1 of 3

Visibility

หลังจากเปิดตัวเว็บไซต์ภาคในโดเมนใหม่ biology.sc.mahidol.ac.th ไป ก็ถึงเวลาทำการตรวจสอบสถานะของเว็บไซต์ใน search engine ยอดนิยม อย่าง Google ดูเสียหน่อย

คำค้นหา ภาควิชาชีววิทยา ด้วย Google.co.th วันที่ 16 เม.ย. 2558