10 ปี Bio-Geo Path
แม้ว่าวันนี้จะเป็นวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2559 แต่เส้นทางศึกษาชีววิทยาและธรณีศาสตร์ (Bio-Geo Path) กลับเงียบเหงา เพราะทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่งดจัดงานวันเด็ก/ถนนสายวิทยาศาสตร์ในปีนี้
วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2550 เป็นวันเด็กปีแรกที่ Bio-Geo Path เปิดให้เด็ก ๆ ที่มาร่วมกิจกรรม “ถนนสายวิทยาศาสตร์” หรือ Science Avenue ในย่านพญาไทนี้ ได้มาเที่ยวชมกัน
ในระยะเวลาที่ผ่านมา เส้นทางศึกษาชีววิทยาและธรณีศาสตร์แห่งนี้ ได้ถูกใช้เป็นแหล่งศึกษาในวันเด็กอีกหลายครั้ง เป็นแหล่งทัศนศึกษาของเยาวชน และบุคคลทั่วไป รวมถึงมีการถ่ายทำเป็นสารคดีอยู่หลายครั้ง แต่ในช่วงเวลานี้ที่ Bio-Geo Path มีอายุได้ราว 10 ปีแล้ว อาจจะมีสภาพไม่สมบูรณ์นัก (หรือไม่สมบูรณ์เป็นอย่างมาก) ก็ยังยืนหยัดท้ากาลเวลาให้ผู้สนใจได้มาลองแวะชมกันได้ที่สวนสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติ Bio-Geo Path
- เริ่มการปรับพื้นที่สวนสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ฝั่งติดถนนพระรามที่ 6 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2549
- ใช้ในการเรียนการสอนวิชา วทชว 411 วิวัฒนาการ สำหรับนักศึกษาภาควิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 4 ในวันที่ 10 มกราคม 2550 เป็นครั้งแรก
- เปิดให้เด็กเข้าชมในงานวันเด็กแห่งชาติ 13 มกราคม 2550 (ถนนสายวิทยาศาสตร์ ปีแรก)
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 ช้างแมมมอธ เดินทางมาถึง Bio-Geo Path
- วันที่ 18 มกราคม 2551 การประชุมคณะกรรมการจัดการโครงการสวนวิทยาศาสตร์ (Science Garden) ประชุมเพื่อจัดระเบียบส่วนจัดแสดงกลางแจ้งในคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ Bio-Geo Path และสวนนกเงือก
- วันที่ 26 มกราคม 2551 งานวันเด็ก (ที่เลื่อนมาจัดในภายหลัง)
- วันที่ 11 เมษายน 2551 พายุฤดูร้อนทำให้เทอโรซอร์แห่ง Bio-Geo Path ร่วงหล่นลงมาที่พื้น (ต้องซ่อมแซมและจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย)
- วันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2559 ฉลองครบรอบ 10 ปี Bio-Geo Path
โปสเตอร์
“สวนวิวัฒนาการ” ริวรั้วด้านในคณะวิทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการการประกวดสวนมุมสวย ปี 6 กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
- Bio-Geo Path Guidebook (PDF, Thai version)
- ประวัติความเป็นมา Bio-Geo Path (PDF, Thai version)
- นำเที่ยว Bio-Geo Path (Dept. of Biology Webboard)
- ท่องโลกดึกดำบรรพ์กลางมหานคร ที่ “พิพิธภัณฑ์ Bio-Geo Path” (Manager.co.th)
- พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Bio-Geo Path (ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ไทย)
- เส้นทางชีวะ-ธรณี (Bio-Geo Path) (มหิดลสู่สังคม@คณะวิทยาศาสตร์)
- กว่าจะมาเป็น Bio-Geo Path (Slideshare)