Highlight ActivitiesHighlight Activities 2024RELATED SDGs : 2งานวิจัย

Highlight Activities 2024: Chemical Profile and In Vitro Gut Microbiota Modulation of Wild Edible Mushroom Phallus atrovolvatus Fruiting Body at Different Maturity Stages

ลักษณะทางเคมีและการเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ที่มาจากลำไส้ของเห็ดป่า Phallus atrovolvatus ในระยะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน

เห็ดป่าชนิด Phallus atrovolvatus เป็นเห็ดที่ได้รับความสนใจในการบริโภคเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ  การศึกษานี้ได้วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของดอกเห็ดในระยะไข่และระยะเจริญโตเต็มที่ และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ที่มาจากลำไส้และทางเคมีจำลองการเปลี่ยนแปลงภายหลังการบริโภคเห็ด  ซึ่งในระยะไข่พบว่ามีปริมาณคาร์โบไฮเดรตรวม เส้นใยอาหาร กลูแคน เถ้า และไขมันสูงกว่าเห็ดระยะเติบโตเต็มที่  ในขณะที่ปริมาณโปรตีนรวมต่ำกว่า  จากนั้นได้ทำการศึกษาเห็ดบริโภคในสองลักษณะ คือ เห็ดปรุงสุกและสารสกัดน้ำจากเห็ด ในทั้งสองระยะการเจริญเติบโต  โดยทำการหมักร่วมกับจุลินทรีย์จากลำไส้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง  ผลการทดลองพบว่าเห็ดในการบริโภคทั้งสองรูปแบบช่วยเพิ่มการผลิตกรดไขมันสายสั้น (short-chain fatty acid, SCFA) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเติมตัวอย่างเห็ด  เห็ดทั้งสองประเภทนี้ยังเพิ่มปริมาณการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ เช่น Bifidobacterium และ Streptococcus  โดยตัวอย่างเห็ดในระยะเจริญโตเต็มที่พบการเพิ่มจำนวน Clostridium sensu stricto 1 ในขณะที่ตัวอย่างเห็ดในระยะไข่เพิ่มจำนวน Bacteroides เพิ่มเติม  นอกจากนี้เห็ดในระยะเจริญโตเต็มที่ยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น Escherichia-Shigella, Klebsiella และ Veillonella  ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเห็ดชนิด P. atrovolvatus สามารถบำรุงสุขภาพลำไส้ได้ โดยช่วยเพิ่มการผลิตกรดไขมันสายสั้นและการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์  ซึ่งเห็ดในระยะเจริญโตเต็มที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเห็ดในระยะไข่

SDG เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน 

2.3 เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง เกษตรกรแบบครอบครัว คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรและปัจจัยนาเข้าในการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสาหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกฟาร์ม อย่างปลอดภัยและเท่าเทียม ภายในปี 2573