Highlight ActivitiesRELATED SDGs : 6งานวิจัย

Highlight Activities 2020: Enrichment and characterization of bacterial consortia for degrading 2-mercaptobenzothiazole in rubber industrial wastewater

Enrichment and characterization of bacterial consortia for degrading 2-mercaptobenzothiazole in rubber industrial wastewater

 

สาร Benzothiazoles โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2-mercaptobenzothiazole (2-MBT) ในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตยางสามารถถูกรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมและส่งผลเสียต่อสุขภาพได้  งานวิจัยนี้ต้องการคัดแยกแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายสาร 2-MBTdegrading ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ในการกำจัดน้ำเสีย  ในการนี้ได้ทำการคัดแยกแบคทีเรียจากตะกอนในโรงบำบัดน้ำเสียของโรงงานยางด้วยการนำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีสาร 2-MBT เป็นเวลา 28 วัน  จากนั้นค่อยๆบ่มเพาะเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์โดยเพิ่มความเข้มข้น 2-MBT จาก 50 ถึง 200 mg L−1 ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีไนโตรเจนเป็นเวลา 76 วัน  ในกระบวนนี้มีการเปลี่ยนแปลงชนิดและปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดหลักอย่างมีนัยสำคัญ  โดยพบว่ากลุ่มจุลินทรีย์ EN มีความสามารถในการย่อยสลาย 2-MBT ได้ดีที่สุด  โดยมีค่าอัตราเร็วการย่อยสลาย 5.2±0.5 mg L−1 day−1 mg protein-1 และสามารถย่อยได้ถึง 300 mg L−1 2-MBT  จากการวิเคราะห์ 16S rRNA พบว่า Pseudomonas เป็นจุลินทรีย์กลุ่มหลักโดยเป็นองค์ประกอบประมาณ 70 % ของประชากรทั้งหมด  Stenotrophomonas เป็นจุลินทรีย์ที่มีมากเป็นอันดับสอง และจุลินทรีย์ชนิดนี้ไม่เคยได้รับการรายงานว่าสามารถย่อยสลาย 2-MBT ได้มาก่อน  กลุ่มจุลินทรีย์ EN สามารถย่อยสลาย 65–79 % และ 90–93 % ของ 112 mg L−1 2-MBT และ ∼4000 mg L−1 COD ในน้ำเสียโรงงานยางตามลำดับ  ซึ่งมีความสามารถสูงกว่าการย่อยสลายสลายด้วยกลุ่มประชากรในธรรมชาติมาก  ดังนั้นกลุ่มจุลินทรีย์ EN จึงสามารถนำมาใช้กำจัด benzothiazoles ในน้ำเสียอุตสาหกรรมยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Saowaluk Krainara, Benjaphon Suraraksa, Peerada Prommeenate, Parinda Thayanukul, Ekawan Luepromchai,

Enrichment and characterization of bacterial consortia for degrading 2-mercaptobenzothiazole in rubber industrial wastewater, Journal of Hazardous Materials, Vol. 400, 2020, 123291, ISSN 0304-3894, https://doi.org/10.1016/j.jhazmat.2020.123291. (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0304389420312802)

 

ผลงานที่ตีพิมพ์มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs ข้อ 6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคน และมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน ข้อย่อย 6.6 ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ รวมถึงภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำ และทะเลสาบ ภายในปี 2563