History
ความเป็นมาของภาควิชาชีววิทยา-พฤกษศาสตร์ (หนังสือ 30 ปี คณะวิทยาศาสตร์)
ภาควิชาชีววิทยา-พฤกษศาสตร์ ถือกำเนิดมาพร้อมกับการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาการแพทย์ (เตรียมแพทย์เชียงใหม่) เมื่อปีการศึกษา 2501 เช่นเดียวกับภาควิชาเคมี และ ภาควิชาฟิสิกส์-คณิตศาสตร์ ในปีแรกยังไม่มีสถานที่เป็นของตัวเอง ต้องไปอาศัยอยู่ที่ชั้น 3 ตึกเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ใช้เป็นสถานที่สอนทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาเตรียมแพทย์เชียงใหม่ รุ่นที่ 1 จำนวน 64 คน โดยมีศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล เป็นอาจารย์พิเศามาบรรยายวิชา General Zoology ส่วนปฏิบัติการนั้นมีอาจารย์พิเศษของภาควิชาเองรับผิดชอบ 2 คน คืออาจารย์วารุณี เลิศศิริ (บุษปวนิช) และอาจารย์ผดุง ว่องพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นอาจารย์ประจำรุ่นแรกของภาควิชาด้วย
ในปี พ.ศ. 2502 โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ที่ถนนศรีอยุธยา หน้าโรงเรียนอำนวยศิลป์ ภาควิชาชีววิทยา-พฤกษศาสตร์ จึงย้ายเข้ามาอยู่ที่ตึกด้านหน้า และต้องรับผิดชอบการเรียนการสอนนักศึกษาทั้งชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 สำหรับในชั้นปีที่ 2 ภาควิชาต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นอีก 3 วิชา คือ Comparative Anatomy, General Botany และ Microbiology โดยอาศัยอาจารย์พิเศษมาช่วยสอนภาคบรรยาย ซึ่งผู้รับผิดชอบสอนวิชา Comparative Anatomy ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.กำแหง พลางกูร วิชา General Botany ได้แก่อาจารย์อาภรณ์รัตน์ รัตนทารส นอกจากนี้ยังมีอาจารย์ท่านอื่นมาช่วยสอนเพิ่มด้วย อาทิ อาจารย์ ดร.พาณี เชี่ยวานิช มาช่วยอาจารย์ ดร.คลุ้ม สอนวิชา General Zoology ส่วนในเรื่องการปฏิบัตินั้น ภาควิชาต้องรับผิดชอบถึง 4 วิชาหลัก จึงจำเป็นต้องมีอาจารย์ประจำเพิ่มขึ้น ปรากฎว่าในปีนี้ได้รับอาจารย์เพิ่มอีก 3 คน คือ อาจารย์วารี ประสมสุข (ศรีสุวรรณชัย) อาจารย์ทรรศนีย์ อัศเวศน์ (เจียรนัย) อาจารย์วลัย กิติศรีวรพันธ์ (ประสาทกลพิทยา) ปีนี้ถึงแม้ว่าจะย้ายมาอยู่ที่อาคารใหม่ แต่ห้องเรียน ส่วนใหญ่ก็ยังไม่เรียบร้อยดี ห้องบรรยายจึงใช้ห้องเล็ก ๆ ส่วนเวลาทำแล็บนั้น ต้องใช้โรงอาหาร นักศึกษาทุกคนต้องช่วยอาจารย์ขนกล้องและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปเรียนและยกกลับเมื่อเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว (นักศึกษารุ่น 1 และ 2 คงจำได้ดี)
การสร้างห้องปฏิบัติการชีววิทยาเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2503 พร้อมกับได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์มาเป็นคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อรับนักศึกาาเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์รุ่นแรก เพื่อสอนให้นักศึกษาไปเรียนที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช และคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ พร้อมกับเปิดรับนักศึกษาเตรียมพยาบาลปริญญา เตรียมทันตแพทยศาสตร์ เตรียมเทคนิคการแพทย์ และเตรียมสาธารณสุขศาสตร์ รุ่นแรกเพิ่มขึ้น ทำให้มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น และภาควิชาได้ห้องปฏิบัติการสำหรับวิชา Zoology, Botany และ Microbiology อยู่ที่ชั้น 3 ปีกซ้ายตึกหน้า ส่วนห้องปฏิบัติการวิชา Comparative Anatomy (Lab ฉลาม-กระต่าย) อยู่ชั้น 1 ตึกวิจัย ด้านหลัง ติดกับกองพันทหารสารวัตร ทางเข้าห้องแล็บติดกับร้านอาหาร (ร้านตุ่ม) ปีนี้รับอาจารย์เพิ่มอีก 2 คน คืออาจารย์ เฉลียง จุ้ยฉุน และ อาจารย์สุวรรณา เภกะสุต
ปี พ.ศ. 2511 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ย้ายมาที่สถานที่แห่งใหม่ บริเวณถนนพระรามที่หก ตรงข้ามกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านซ้ายติดกับโรงพยาบาลรามาธิบดี ด้านขวาติดกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเซียตะวันออกเฉลียงใต้ (ปัจจุบันเป็นกระทรวงการต่างประเทศ) ภาควิชาได้เข้าอยู่ที่ชั้น 3, 4, 5, และ 6 ตึกชีววิทยาทั้ง 4 ชั้น จะมีห้องพักอาจารย์ ห้องวิจัย ห้องเตรียมแล็บ และแล็บใหญ่ นับว่าเป็นสถานที่มีโครงสร้างที่ดีที่สุด ชั้น 3 ใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิชา Zoology ชั้น 4 เป็นห้องปฏิบัติการ Botany ชั้น 5 เป็นห้องปฏิบัติการ Comparative Anatomy และชั้น 6 เป็นห้องปฏิบัติวิชา Microbiology (สำหรับวิชา Microbiology ระยะแรกที่ย้ายมาอยู่ตึกใหม่ อาจารย์ภาควิชารับผิดชอบในการสอนปฏิบัติการและบรรยายบางส่วน ต่อมาได้ยกให้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของภาควิชาจุลชีววิทยา)
ต่อมาคณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดสร้างตึกชีววิทยาหลังใหม่ติดกับกระทรวงการต่างประเทศขึ้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้มีการย้ายห้องเรียนและห้องพักอาจารย์มาที่สึกใหม่ในชั้นที่ 3, 4 และ 5 ส่วนตึกชีววิทยาเก่าเดิมนั้น ชั้น 3 ได้ให้แก่ภาควิชาชีวเคมี ชั้น 5 แก่ภาควิชาเภสัชวิทยา ชั้น 6 ให้แก่ภาควิชาจุลชีววิทยา ส่วนชั้น 4 ยังคงเป็นของภาควิชาชีววิทยา-พฤกษศาสตร์ ต่อมาใช้เป็นศูนย์วิจัยสังขวิทยาและกีฏวิทยาประยุกต์ (Center for Applied Malacology and Entomology)
หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดตั้งวิทยาเขตศาสลายาขึ้นในปี พ.ศ. 2524 ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทั้งหมดต้องไปเรียนที่ศาลายา การเรียนการสอนของวิชาต่าง ๆ ต้องไปจัดที่ศาลายา สำหรับการสอนภาคปฏิบัติของวิชาชีววิทยาทั่วไปจึงไปจัดสอที่อาคารวิทยาศาสตร์ ชั้น 2 และ 3 มีทั้งหมด 8 ห้อง ส่วนนักศึกษาปีที่ 2 บางประเภทวิชายังคงสอนอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์เดิม
นอกจากนั้น ภาควิชายังรับผิดชอบนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ของภาควิชาอีกด้วย
การพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรทางสาขาชีววิทยาและพฤกษศาสตร์ ในระยะแรก ๆ ของการเปิดโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ยึดแนวการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพราะได้เชิญอาจารย์พิเศษมาจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นผู้บรรยาย เช่น ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล อาจารย์ ดร.พาณี เชี่ยววานิช อาจารย์ศรีสุมนต์ จันทนชาติ อาจารย์อาภรณ์รัตน์ รัตนทารส ดร.อารีย์ อดุลพันธุ์ ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.ชนาญวัตร เทวกุล เป็นต้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2514 จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยเอาเนื้อหาของวิชา General Zoology กับ General Botany บางส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เรียกเป็นวิชา Principles of Biology I & II ส่วนวิชา Comparative Anatomy ยกเลิกไป แต่เปิดสอนวิชา Developmental Biology แทน ส่วนวิชา Botany นั้นยังคงสนอให้กับนักศึกษาเตรียมเภสัชศาสตร์ เตรียมทันตแพทย์ศาสตร์ และนักศึกษาวิทยาศาสตร์ การปรับปรุงหลักสูตรนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของคณะปลายทาง ซึ่งพอสรุปการเรียนการสนอให้กับนักศึกษาคณะต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 มาได้ดังนี้
(ตาราง)
ต่อมาการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ทางสาขาชีววิทยา ได้มีการปรับปรุงอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2528 ทั้งนี้เพราะนักศึกษาบางคณะได้มีการปรับปรุงหลักสูตร และมีการลดเวลาเรียนลงไปบางวิชา บางคณะมีความเห็นว่านักศึกษาคณะนั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องรู้ละเอียดลึกซึ้งมาก ก็มีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพการณ์นั้น ๆ จึงปรากฎว่าการเรียนการสนอสาขาวิชาชีววิทยาให้กับนักศึกษาประเภทต่าง ๆ ของชั้นปี 1 และ 2 ในปัจจุบันมีดังนี้
(ตาราง)
การศึกษาระดับปริญญาตรี
ภาควิชาชีววิทยา-พฤกษศาสตร์ ได้เปิดสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ขณะนี้มีนักศึกษาสำเร็จปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาชีววิทยา จำนวน 68 คน นับถึงปี พ.ศ. 2526 (ปี พ.ศ. 2527-2530 ไม่มีนักศึกษา) และเริ่มรับใหม่ปี พ.ศ. 2531 การเรียนการสอนส่วนใหญ่มุ่งนั้นให้นักศึกษามีความรู้พื้ฯบานทางด้านชีววิทยาทั้งของสัตว์และพืช ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสกว้าง ๆ กับนักศึกษาที่จะได้เลือกเรียนในระดับสูงขึ้นไปในสาขาต่าง ๆ อาทิเช่น สาขาวิชาชีวเคมี, สรีรวิทยา, พยาธิชีววิทยา, กายวิภาคศาสตร์, จุลชีววิทยา, ชีววิทยาสิ่งแวดล้อม, เภสัชวิทยา และพันธุศาสตร์ เป็นต้น นอกจานี้ยังสามารถทำงานในสถาบันของราชการและเอกชนต่าง ๆ ได้
การศึกษาระดับปริญญาโท-เอก
ภาควิชาชีววิทยา-พฤกษศาสตร์ ได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาชีววิทยาสภาวะแวดล้อม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ปัจจุบันมีผู้สำเร็จปริญญาโทไปแล้ว 59 คน จากจำนวนทั้งหมด 90 คน (เป็นชาวต่างประเทศ 7 คน) การศึกษาในระดับปริญญาโทนี้ได้รับความสนใจจากนักศึกษาสถาบันต่าง ๆมาก ทั้งนี้เพราะภาควิชาเปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ปัจจุบันการเรียนการสอนระดับปริญญาโท ภาควิชาได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มวิชาเลือกด้วยกัน คือ
- กลุ่ม Animal Science นักศึกษาสามารถเลือกเรียนตามวิชาเอกและวิชาเลือกตามแขนงต่าง ๆ ดังนี้
- ชีววิทยามลภาวะ (Pollution Biology)
- นิเวศวิทยา และชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ (Ecology and Conservation Biology)
- พันธุศาสตร์ (Genetics)
- สังขวิทยาทางการแพทย์ (Medical Malacology)
- กีฏวิทยาทางการแพทย์ (Medical Entomology)
- ปรสิตวิทยา (Parasitology)
- เทคโนโลยีชีวภาพของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Biotechnology of Aquaculture)
- ชีวพิษวิทยา (Biological Science of Toxicology)
- กลุ่ม Plant Cell Science
- กลุ่ม Biological Product
สำหรับการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาชีววิทยา ได้เริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบันมีนักศึกษารวมทั้งสิ้น 13 คนที่กำลังศึกษาอยู่สาขาต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว
งานวิจัย
ภาควิชาชีววิทยา-พฤกษศาสตร์ ได้รับเงินทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับอาจารย์จากแหล่งเงินทุน ทั้งในและต่างประเทศหลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล สภาวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพลังงาน WHO/TDR, Rockefeller Foundation, USAID, STDB, BOSTID, World Wildlife Fund, New York Zoological Society เป็นต้น
สำหรับโครงการวิจัยที่อาจารย์ในภาควิชากำลังศึกษาอยู่ได้แก่ โครงการ
- พันธุศาสตร์ ในประชากรธรรมชาติของยุงก้นปล่อง และแมลงหวี่ในภูมิภาคเอเซีย
- เซลล์พันธุศาสตร์ของแมลงวันผลไม้ และไหม
- การคัดเลือกสายพันธุ์ และเพิ่มผลผลิตของหอยทากในประเทศไทย
- การศึกษาการระบาดของพยาธิใบไม้ในตับในประเทศไทย
- การศึกษาการระบาดของพยาธิลำไส้ พยาธิใบไม้ปอด พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ และพยาธิแส้ม้าในประเทศไทย
- การศึกษาการควบคุมหอยที่มีความสำคัญทางการแพทย์ โดยชีววิธี และสารสกัดจากพืชสมุนแพร
- การศึกษานิเวศวิทยาของลูกน้ำยุงก้นปล่อง
- การศึกษาการระบาดของโรคเท้าช้าง และนิเวศวิทยาของยุงลาย
- การศึกษาวิธีการตรวจวินิจฉัยพยาธิใบไม้เลือดโดยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา
- การแยกสกัดบริสุทธิ์ และศึกษาคุณสมบัติของฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ (Follitropin-FSH) จากต่อใต้สมองกระบือปลัก
- การเก็บรวบรวมพันธุ์ และพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดธรรมชาติของไทย ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และทางการแพทย์
- การแยกสกัดสารที่มีคุณค่าทางการแพทยจากเห็ดสมุนไพรของไทย
- การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- การปรับปรุงพันธุ์กุ้งก้ามกรามโดยวิธีฮอร์โมนและระบบสืบพันธุ์
อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา-พฤกษศาสตร์
- ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ (หัวหน้าภาควิชา)
- ผศ.วารุณี เลิศศิริ
- ผศ.ทรรศนีย์ อัศเวศน์
- ผศ.วลัย กิติศรีวรพันธุ์
- ผศ.วารี ประสมสุข
- ผศ.สมพร ผาสุก
- รศ.ดร.เนาวรัตน์ ศุขะพันธุ์
- อ.ประสิทธิ์ ศรีจำนงค์
- ดร.บุญเสริม พูลสงวน
- ผศ.ดร.วันดี พูลสงวน
- อ.สมชัย ไวทย์รุ่งโรจน์
- ผศ.ศิริวรรณ จันทเตมีย์
- อ.พอใจ เสตะกัณณะ
- ดร.ศิริพร นิตยางกูร
- อ.สุกัญญา ทวีติยานนท์
- อ.วรรณวดี โรจนสุนันท์
- ผศ.อุบลรัตน์ ศรีอรุณ
- ผศ.สาริณี ไชยเจริญ
- อ.ชวนพิศ สัมฤทธิ์ทอง
- ผศ.ชัชวาลย์ ช่ำชอง
- ผศ.ดร.ปรีชา กลิ่นเกษร
- ผศ.ดร.เฉลี่ยว กุวังคะดิลก
- ผศ.วนิดา นาควัชระ
- ผศ.ดร.ศุภาภรณ์ รัตนธรรม
- ผศ.ดร.ปราณีต ดำรงผล
- อ.เพลินพิศ เจริญศัสตรารักษ์
- อ.เสรี บรรพวิจิตร
- รศ.ดร.สุชาติ อุปถัมภ์
- รศ.ดร.มาลียา เครือตราชู
- รศ.ดร.วิฑูรย์ ไวยนันท์
- ผศ.ดร.รจนา แก้วแจ่ม
- ผศ.ดร.เยาวลักษณ์ จิตรามวงศ์
- ผศ.ดร.พรสวรรค์ วิสุทธิวิเศษ
- ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตร
อาจารย์จากบัณฑิตวิทยาลัย1
- Professor Dr.Warren Brockelman
- ผศ.สังวรณ์ กิจทวี
- อ.ปัทมาภรณ์ กฤตยพงษ์
- ผศ.สุขศิริ วิชาศรี
- อ.อมรา ตรีมงคล
- อ.ประหยัด โภคฐิติยุกต์
- อ.กรวิชช์ ณ ถลาง
นักวิทยาศาสตร์
- คุณพิศนี อาจสูงเนิน
- คุณณัฐพร ภาคภูมิกมล
- คุณวิไลรัตน์ ขรรค์บริวาร
เจ้าหน้าที่สำนักงานภาควิชา
- คุณวงศ์วิลาศ หัสเนตร
- คุณอัมพร ดวงแก้ว
- คุณกรรณิกา เวชสนิท (พนักงานโสตฯ)
- คุณประพิศ ยอดจตุรัส
- คุณสินาด ประชุมพันธุ์ (ช่างเทคนิค)
พนักงานวิทยาศาสตร์
- คุณสมบัติ สิงหาแก้ว
เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์
- คุณนพนนท์ ปิ่นประดับ
รายนามอาจารย์ในอดีต (ลาออก/ย้าย)
- ผศ.จิต วรมนตรี (ลาออก)
- รศ.ผดุง ว่องพยาบาล (ย้ายไปภาควิชากายวิภาคศาสตร์)
- อ.เฉลียง จุ้ยฉุน (ลาออก)
- อ.สุวรรณ เภกะสุต (เสียชีวิตระหว่างศึกษาต่อต่างประเทศ)
- อ.จงเกียรติ ลิ้มสุวรรณ (ลาออก)
- อ.วัฒนา ศรีสุคนธ์ (ย้ายไป มศว.ประสานมิตร)
- อ.บรรพต พึงไชยพัฒน์ (ลาออก)
- อ.พรพัณณ์ ปัทมสังข์ (ลาออก)
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง