Highlight Activities 2022: Genetic analysis of hybridization between white-handed (Hylobates lar) and pileated (Hylobates pileatus) gibbons in a contact zone in Khao Yai National Park, Thailand
Asst. Prof. Chalita Kongrit
โดยปกติแล้วชะนีแต่ละชนิดที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติมีการกระจายตัวไม่ซ้อนทับกัน (allopatric distribution) แต่มีเพียง 3 แห่งในโลกนี้เท่านั้นที่พบชะนีต่างชนิดอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นเพียงพื้นที่เดียวที่พบชะนีมือขาว (Hylobates lar) และชะนีมงกุฎ (Hylobates pileatus) อาศัยอยู่ในพื้นที่ซ้อนทับ (contact zone) ร่วมกัน มีการจับคู่ผสมพันธุ์ข้ามชนิดและมีชะนีลูกผสมเกิดขึ้น ชะนีลูกผสมมีลักษณะภายนอกและเสียงร้องก้ำกึ่งระหว่างชะนีทั้งสองชนิดและไม่เป็นหมัน การศึกษาพันธุกรรมของชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎและชะนีลูกผสมในพื้นที่ซ้อนทับจำนวน 47 ตัวด้วยไมโทคอนเดรียและไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ ระบุชะนีที่มีพันธุกรรมแบบผสมได้ 10 ตัว โดยชะนีลูกผสมรุ่นแรก (F1 hybrid) มีสัดส่วนพันธุกรรมของสปีชีส์พ่อและแม่ประมาณอย่างละครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อชะนีลูกผสมจับคู่สืบพันธุ์กับชะนีมือขาวในรุ่นลูกถัด ๆ ไปพบว่ามีสัดส่วนพันธุกรรมและลักษณะภายนอกใกล้เคียงกับชะนีมือขาวมากขึ้น แม้ว่าจะพบการจับคู่ข้ามสปีชีส์กันของชะนีในพื้นที่ซ้อนทับ แต่ชะนีส่วนมากในพื้นที่ซ้อนทับยังคงจับคู่กับสปีชีส์เดียวกันมากกว่าการจับคู่ข้ามสปีชีส์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีกลไกการแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์ (reproductive isolation) ที่ป้องกันการผสมพันธุ์ข้ามชนิดกันและรักษาการแบ่งแยกสปีชีส์ของชะนีมือขาวและชะนีมงกุฎไว้ได้
References
Markviriya D, Asensio N, Brockelman WY, Jeratthitikul E, Kongrit C. Genetic analysis of hybridization between white-handed (Hylobates lar) and pileated (Hylobates pileatus) gibbons in a contact zone in Khao Yai National Park, Thailand. Primates. 2022 Jan;63(1):51-63. doi: 10.1007/s10329-021-00958-y
ผลงานที่ตีพิมพ์มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เป้าหมายที่ 15. ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ